เช็กจุดเสี่ยงไฟฟ้าลัดวงจร อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

เช็กจุดเสี่ยงไฟฟ้าลัดวงจร พร้อมวิธีป้องกันเพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย

ช่วงฝนตกฟ้าร้องในหน้าฝนหรือแม้แต่พายุฤดูร้อนที่มาเยือนเราทุกปี มักก่อให้เกิดความเสียหายในหลายๆ บ้านที่อาจต้องเจอเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมาได้ ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญและหมั่นตรวจสภาพระบบไฟฟ้าภายในบ้านอยู่เสมอ โดยจุดที่ควรตรวจสอบเพราะมักเกิดไฟฟ้าลัดวงจรมีดังนี้


อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน


1. เต้าเสียบที่มีการต่อพ่วง - หากเต้าเสียบมีอาการหลวมหรือแตก หัก ควรเปลี่ยนใหม่ทันที และระมัดระวังการต่อพ่วงปลั๊กไฟที่มากเกินไป เพราะหากต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าเกินจนเกินกำลังจะทำให้สายไฟร้อนจัดจนเกิดการลัดวงจรได้


เช็คเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน


2. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด - เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านการใช้งานมานานหลายปีย่อมเสื่อมสภาพตามวันเวลา ควรหมั่นตรวจสอบความผิดปกติขณะใช้งาน โดยเฉพาะบริเวณสายไฟที่มีการหักงอ หรือฉนวนฉีกขาด จนอาจทำให้ประจุไฟเดินไม่สะดวกแล้วสะสมเป็นความร้อนจนเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทั้งนี้หากอุปกรณ์ไฟฟ้ามีการหักจนฉีกขาด กระแสไฟอาจจะรั่วได้


สายไฟอุปกรณ์เสื่อมชำรุด


3. สายไฟที่เสื่อมสภาพ - ตำแหน่งของสายไฟที่มักจะเกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้งคือสายไฟที่อยู่บนฝ้าเพดาน เพราะอาจโดนหนูกัดแทะ หรือสายไฟใต้พรมที่ถูกกดทับนานๆ จนเกิดความอบอ้าว เป็นเหตุให้ฉนวนหุ้มสายไฟเสื่อมหรือฉีกขาด ทั้งนี้อย่าลืมตรวจสภาพของสายไฟนอกบ้านร่วมด้วย เพราะต้องโดนทั้งความร้อนทั้งฝนตกก็อาจจะเสื่อมสภาพได้เช่นกัน

4. กระดิ่งไฟฟ้า รวมถึงโคมไฟนอกบ้าน - เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องติดตั้งไว้ภายนอกจึงควรหมั่นตรวจสอบดูแลอยู่เสมอ เพราะต้องโดนทั้งแดดและฝนจนอาจเสื่อมสภาพได้เร็ว อีกทั้งอาจมีนกหรือสัตว์ชนิดอื่นๆ เข้าไปทำรังจนเป็นเหตุให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้


กระดิ่งเเละโคมไฟนอกบ้าน

5. ให้ความสำคัญกับการต่อสายดิน - หลายคนที่ติดตั้งระบบไฟฟ้าในบ้านอาจละเลยการติดตั้งสายดินไป เพราะเหตุผลที่ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้ปกติแม้ไม่มีสายดิน แต่หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรกระแสไฟจะไหลเข้าตัวคุณได้โดยตรง ซึ่งหากไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันเวลาอาจถึงแก่ชีวิตได้ แต่หากติดตั้งสายดินจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยเพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลลงสู่สายดิน หรือทำการตัดกระแสไฟออกโดยอัตโนมัตินั่นเอง 

6. ยังใช้คัตเอาต์แบบเดิม - คัตเอาต์ถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน โดยคัตเอาต์แบบเก่าจะทำการตัดหรือต่อไฟฟ้าโดยใช้วิธียกขึ้น-ลง แต่แบบใหม่จะเป็นการตัดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าลัดวงจรลุกลามหรือรุนแรงขึ้นได้ 

7. ใช้งานปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกต้อง - ควรเลือกใช้งานปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐาน มอก. และระมัดระวังในการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง หากต่ออุปกรณ์ไฟฟ้ามากจนเกินกำลังไฟกำหนด หรือใช้ปลั๊กพ่วงไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า จะทำให้สายไฟร้อนจัดจนเกิดการลัดวงจรได้ อีกทั้งอย่าลืมถอดปลั๊กอุปกรณ์ออกทุกครั้งหลังใช้งาน


ทุกจุดสำคัญเหล่านี้ควรตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยเสมอเพื่อความสบายใจและความปลอดภัยเรื่องไฟฟ้าลัดวงจรในเบื้องต้น แต่ถ้าคุณอยากอุ่นใจมากขึ้น แนะนำให้ติดตั้งระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร พร้อมระบบตัดไฟโดยอัตโนมัติป้องกันไว้ภายในบ้าน เพื่อปกป้องครอบครัวที่คุณรักและทรัพย์สิน ได้อย่างทันท่วงที

ระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร คือความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม
เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

พบความรู้เรื่องบ้านเเละการอยู่อาศัย เพิ่มเติม คลิก https://www.lh.co.th/th/lh-living-concept/living 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ